การส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต

หน่วยงานภายใน

SP
CHNG
SSA
LK
KK
YS
SK
PNG
KJ
SS
123
PN

งานบริการประชาชน

 
dumrong01

ประกาศรับสมัคร/โอนย้าย

ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์

แนะนำเว็บไซต์

 
 
 

วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์ และพันธกิจ 

วิสัยทัศน์จังหวัดเชียงราย (Vision)

"เชียงรายเมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์ แห่งความสุข สะอาด ปลอดภัย น่ายล"

 

ยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงราย

 

     ประกอบด้วยเป้าประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่

1.การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : เพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณค่าและยั่งยืน การค้า การลงทุนและบริการโลจิสติกส์เชิงสร้างสรรค์ และการส่งเสริมนวัตกรรมสินค้าเกษตรมูลค่าสูงโดยดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนาและสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

2.การพัฒนาสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ : เพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศและสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนบทสังคมเศรษฐกิจสรรค์เพื่อรับรองการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

3.การพัฒนาสังคมสร้างสรรค์ : เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนทุกช่วงวัย และเสริมสร้างความปลอดภัยและความมั่งคงในชีวิตทรัพย์สิน
ของประชาชนเพื่อนำไปสู่สังคมสร้างสรรค์ จากเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดที่กำหนดขึ้น สามารถแบ่งประเด็นการพัฒนาดังนี้แบ่งออกเป็น

 

ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวเชิงสรรค์โดยดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนา โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ดังนี้

- การเพิ่มจำนวนแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

- การเพิ่มจำนวนของกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น

- การเพิ่มจำนวนของสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวได้รับมาตรฐาน SHA

 

ประเด็นการพัฒนาที่ 2 การส่งเสริมการผลิตและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับสินค้าเกษตร เชิงสร้างสรรค์ภายใต้แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ดังนี้

- การเพิ่มสัดส่วนสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพ มาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

- การเพิ่มจำนวนนวัตกรรมสินค้าเกษตรเชิงสร้างสรรค์

- การส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ชา กาแฟและสมุนไพรสู่เกษตรมูลค่าสูงเชิงสร้างสรรค์

 

ประเด็นการพัฒนาที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านการค้า การลงทุน การบริการ และโลจิสติกส์ โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ดังนี้

- การส่งเสริมการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ/SMEs เศรษฐกิจสร้างสรรค์

- การเพิ่มกิจกรรมในการส่งเสริม พัฒนาและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการภายใต้บริบท
ที่เปลี่ยนแปลง

- การสนับสนุนสภาพแวดล้อมและระบบโลจิสติกส์ที่ดีรองรับด้านการค้า การลงทุน การบริการ

 

ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ดังนี้

- การเพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียว

- การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ/หมอกควันไฟป่า

 

ประเด็นการพัฒนาที่ 5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงเพื่อส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ดังนี้

- การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกช่วงวัย

- ส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ

- พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมอาชีพเพื่อการลดความเหลื่อมล้ำและคนจนข้ามรุ่นลดลง

- การลดอุบัติเหตุ/ภัยพิบัติ/ปลอดยาเสพติด

 

 

วิสัยทัศน์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด

 

วิสัยทัศน์

 

“เชียงรายเมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์ วิถีถิ่นร่วมสมัย สิ่งแวดล้อมสมดุล มุ่งสู่ความยั่งยืน”

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนา

      กลยุทธ์ที่ 1.1 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานสากลในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทุกรูปแบบ

   กลยุทธ์ที่ 1.2 ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ บูรณะฟื้นฟูโบราณสถาน ค้นหาแหล่งท่องเที่ยวหรือแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแห่งใหม่ และสร้างอัตลักษณ์ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว

     กลยุทธ์ที่ 1.3 จัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อย การอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว

     กลยุทธ์ที่ 1.4  การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน

ในการพัฒนาพื้นที่

    กลยุทธ์ที่ 1.นำเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

 

ยุทธศาสตร์ที่2 การส่งเสริมการผลิตและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับสินค้าเกษตรเชิงสร้างสรรค์ภายใต้แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

  กลยุทธ์ที่ 2.ส่งเสริมและยกระดับสินค้าทางการเกษตร เพื่อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย

      กลยุทธ์ที่ 2.2  ส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นให้เกิด
ความหลากหลาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

     กลยุทธ์ที่ 2.ส่งเสริมกระบวนการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรและยกระดับการผลิตสินค้าชุมชนแบบครบวงจรให้ได้มาตรฐานสากล โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 กลยุทธ์ที่2.4 เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดเชียงราย

   กลยุทธ์ที่ 2.5 ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเป็นช่องทางในการพัฒนาการผลิต การจำหน่าย
การกระจายสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านการค้า การลงทุน การบริการ และโลจิสติกส์

       กลยุทธ์ที่ 3.1 พัฒนาระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศให้ได้มาตรฐานสากล

       กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการค้า การลงทุน การบริการในอนาคต

      กลยุทธ์ที่ 3.3 ส่งเสริมและพัฒนาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

      กลยุทธ์ที่ 3.4 ส่งเสริมพัฒนาและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการภายในบริบทที่เปลี่ยนแปลง

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์ และยั่งยืน

         กลยุทธ์ที่ 4.1 เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ขยะมูลฝอย หมอกควันไฟป่า
และมลภาวะแบบบูรณาการ

         กลยุทธ์ที่ 4.2 ส่งเสริมและพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         กลยุทธ์ที่ 4.3 ส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน

         กลยุทธ์ที่ 4.4 เพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียว ปลูกป่าชุมชน และรักษาระบบนิเวศน์ให้เกิดความสมดุล

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงเพื่อส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์

 

        กลยุทธ์ที่ 5.1 ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ให้ได้มาตรฐานการศึกษา

   กลยุทธ์ที่ 5.2 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนในเขต พัฒนาเศรษฐกิจชายแดน

       กลยุทธ์ที่ 5.3 เสริมสร้าง พัฒนา และส่งเสริมเครือข่ายการศึกษาในท้องถิ่นแบบบูรณาการ

      กลยุทธ์ที่ 5.4 ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสู่อาชีพและรายได้

       กลยุทธ์ที่ 5.5 การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในท้องถิ่น

       กลยุทธ์ที่ 5.6 พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส 

       กลยุทธ์ที่ 5.7 ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

       กลยุทธ์ที่ 5.8 ส่งเสริม อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีถิ่นร่วมสมัย

      กลยุทธ์ที่ 5.9 ส่งเสริมพัฒนาศูนย์สุขภาวะชุมชนในท้องถิ่น

      กลยุทธ์ที่ 5.10 ส่งเสริมการป้องกัน ควบคุม แก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

       กลยุทธ์ที่ 5.11 รณรงค์ส่งเสริมให้มีการลดอุบัติเหตุและอุบัติภัยในท้องถิ่น

      กลยุทธ์ที่ 5.12 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น

       กลยุทธ์ที่ 5.13 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

  

วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

 

“เชียงรายเมืองสุขภาพดี วิถีน่ายล ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน”

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนา

เป้าประสงค์ (Goals)

          1. พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน

          2. ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

          3. ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัด

          4. ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม

          5. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่ความยั่งยืน

 

ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI)

          1. ร้อยละของครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่มขึ้น

          2. ร้อยละของแหล่งท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น

          3. ร้อยละของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

          4. ร้อยละของการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน

กลยุทธ์ (Strategy)

         1. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และเชิงสุขภาพ ให้เชียงรายเที่ยวได้ทั้งปี มีดีทุกเดือน

         2. พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว

         3. ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ของคนในชุมชน

         4. ส่งเสริม อนุรักษ์ ด้านศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณี

         5. การส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาสู่การค้า (อังกฤษ จีน และเมียนมาร์)

         6. ลดอัตราการว่างงาน และเพิ่มทักษะพัฒนาอาชีพ

         7. พัฒนาศักยภาพบุคลกรเครือข่ายการท่องเที่ยว

         8. พัฒนากิจกรรมและการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับสินค้าเกษตรเชิงสร้างสรรค์
ภายใต้แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (
Sustainable Development Goals : SDGs)

เป้าประสงค์ (Goals)

         1. สินค้าทางการเกษตรที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

         2. ประชาชนมีรายได้ในครัวเรือนจากการส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น

3.สินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนได้รับการแปรรูปโดยผ่านกระบวนการที่ได้มาตรฐานสากล (มอก./Halal/GMP/HACCP/...) และเป็นที่ยอมรับของตลาดอย่างกว้างขวาง

         4. สร้างศูนย์กลางการกระจายสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดเชียงราย

         5. ส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้เป็นช่องทางการผลิต การจำหน่าย
และการกระจายสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น

 

ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI)

          1. สินค้าทางการเกษตรของจังหวัดเชียงรายได้รับการส่งเสริมและพัฒนาข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) มากกว่า 1 ชนิด เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

          2. ร้อยละของรายได้ที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น

          3. ร้อยละของสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้มาตรฐานสากล

          4. มีสถานที่ในการต่อรองราคาสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อลดการแทรกแซงจากพ่อค้าคนกลาง

          5. ผู้บริโภคสามารถได้รับสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วหลากหลายช่องทาง

กลยุทธ์ (Strategy)

          1. ส่งเสริมเกษตรกรในการสร้างผลผลิตที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

          2. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน

          3. ส่งเสริมกระบวนการผลิตสินค้าทางการเกษตรและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานสากล

     4. สร้างศูนย์กลางการผลิต จำหน่าย และการกระจายสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน

        5. ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านการค้า การลงทุน การบริการ และโลจิสติกส์

เป้าประสงค์ (Goals)

1. พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐาน

2. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในการใช้เส้นทางสัญจร และขนส่งสินค้าทางการเกษตร

3. ประชาชนในจังหวัดเชียงรายมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

4. ผู้ประกอบการ ร้านค้า ในจังหวัดเชียงรายมีความพร้อมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน

ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI)

1. จำนวนระบบคมนาคมขนส่งที่ได้ดำเนินการก่อสร้าง ปรับปรุงหรือซ่อมแซมเพิ่มขึ้น

2. จำนวนระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้ดำเนินการก่อสร้าง ปรับปรุงหรือซ่อมแซมเพิ่มขึ้น

3. ร้อยละของรายได้ของประชาชนในจังหวัดเชียงราย

4. ร้อยละของผู้ประกอบการ ร้านค้า มีความพร้อมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์ (Strategy)

          1. พัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้ได้มาตรฐาน

          2. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการค้า การลงทุน การบริการ

          3. ส่งเสริมและพัฒนาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายแดน

          4. ส่งเสริมพัฒนาและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ

          5. พัฒนางานด้านผังเมือง งานวิศวกรรมจราจร

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์ และยั่งยืน

เป้าประสงค์ (Goals)

1. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

2. ปัญหาขยะมูลฝอย หมอกควันไฟป่า มีปริมาณลดลง

3. การใช้พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทนของประชาชนเพิ่มมากขึ้น

4. จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น

 

ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI)

1. ร้อยละของจำนวนแหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

2. ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอย และสถิติการเกิดหมอกควันไฟป่าที่ลดลง

3. ร้อยละของการใช้พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น

4. ร้อยละของพื้นที่สีเขียวในจังหวัดเชียงรายที่เพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ (Strategy)

1. เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ขยะมูลฝอย หมอกควันไฟป่า

2. ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  3. ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน

                  4. เพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียว ปลูกป่าชุมชน และรักษาระบบนิเวศ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงเพื่อส่งเสริมสังคมสร้างสรรค์และธรรมาภิบาล

เป้าประสงค์ (Goals)

               1. นักเรียนในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ

               2. เด็ก เยาวชน ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันทุกระดับ

          3. เด็ก เยาวชน ประชาชนและบุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายได้รับการส่งเสริมพัฒนาการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย

              4. ทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาท้องถิ่นไปในทิศทางเดียวกัน

            5. เด็ก เยาวชน ประชาชนได้รับการส่งเสริม อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีถิ่นร่วมสมัย

          6. เด็ก เยาวชน ประชาชน ได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง

          7. ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการให้บริการด้านสาธารณสุข

          8. ประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ

          9. เด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี

          10. ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

          11. จำนวนอุบัติเหตุ อุบัติภัยลดลง

          12. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายมีศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          13. องค์กรมีขีดสมรรถนะสูง คล่องตัว ทันสมัย

          14. การให้บริการสาธารณะ มีคุณภาพ

ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI)

        1. ร้อยละของจำนวนนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ได้รับการศึกษาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ อยู่ในระดับดี

               3. ร้อยละของจำนวนผู้ที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนาการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย

               4. ร้อยละของทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

            5. ร้อยละของเด็ก เยาวชน  ประชาชน ที่ได้รับการส่งเสริมอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีถิ่นร่วมสมัย

               6. ร้อยละความพึงพอใจของเด็กเยาวชน ประชาชนที่ได้รับบริการด้านสาธารณสุข

               7. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ในด้านสาธารณสุข

               8. ร้อยละของประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้

               9. ร้อยละของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

             10. ร้อยละของประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

             11. ร้อยละของอุบัติเหตุและอุบัติภัย มีจำนวนลดลง

             12. จำนวนโครงการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายดำเนินการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา

          13. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายมีผลการประเมินการปฏิบัติงานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (LPA/ITA/ป.ป.ท./บริการสาธารณะ) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85

             14. ร้อยละของบุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพที่เพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

               15. จำนวนกิจกรรมโครงการที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการ

กลยุทธ์ (Strategy)

1. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิตามระดับ การศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเอง และการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน

3. ส่งเสริมและพัฒนาการเล่นกีฬาและออกกำลังกายแบบมีส่วนร่วม

4. การส่งเสริมเครือข่ายการศึกษาแบบบูรณาการ

5. ส่งเสริม อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีถิ่นร่วมสมัย

6. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข

7. ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะที่ดีของประชาชน

8. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

9. พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

10. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

11. รณรงค์ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

12. การป้องกัน ฟื้นฟู และบรรเทาสาธารณภัย

13. ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงและเอื้อต่อการพัฒนา

14. พัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ตอบโจทย์ สะดวกและปลอดภัย

15. เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทุกประเภทในการปฏิบัติงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์

 

 

nayokNew   

นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

ผลการปฏิบัติงานนายก2
ITALogo1
salary
m5
QA

b1

Commu
ศูนย์เยาวชน65
หน้าเว็บ PDPA

สถิติผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday252
mod_vvisit_counterYesterday2013
mod_vvisit_counterThis week4237
mod_vvisit_counterLast week13209
mod_vvisit_counterThis month37826
mod_vvisit_counterLast month70102
mod_vvisit_counterAll days5925949

Online Now: 42
Your IP: 18.208.203.36
,
Today: March 19, 2024