ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
เทศกาล ประเพณีท้องถิ่น

พิธีบวงสรวงพ่อขุนเม็งรายมหาราช สืบชาตา
ยังไม่มีผู้ให้คะแนน

 งานพ่อขุนเม็งรายมหาราชจัดระหว่างวันที่ ๒๖ มกราคม -  ๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี มีพิธีบวงสรวงพ่อขุนเม็งรายมหาราช ณ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช  มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงต่างๆ ณ บริเวณสนามบินเก่า อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

ความเป็นมา

                 พญามังรายหรือพ่อขุนเม็งราย ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๕ แห่งราชวงศ์ลวะจักราช และทรงเป็นปฐมวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เป็นพระราชโอรสพระเจ้าลาวเม็ง มีนางอั่วมิ่งจอมเมือง หรือนางเทพคำข่าย ธิดาท้าวรุ่งแก่นชายนครเชียงรุ้ง แคว้นสิบสองปันนา เป็นพระราชมารดา ทรงประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ พ.ศ.๑๗๘๒ เวลาย่ำรุ่ง

                 โดยขณะพระราชมารดาแรกตั้งพระครรภ์ได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า เห็นดาวประกายหยาดแต่ท้องฟ้าลงมาทางเบื้องพระทักษิณ และได้รับเอาดาวดวงนั้นไว้ โหรจึงถวายคำพยากรณ์ว่าจะได้โอรสที่ทรงศักดานุภาพมาก ครั้นพ่อขุนเม็งรายเจริญพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา เจ้าลาวเม็ง พระบิดา จึงได้ไปสู่ขอพระนางศรีอโนจา พระธิดาเจ้าเมืองเชียงเรืองให้ ต่อมาปี พ.ศ.๑๘๐๒ พระเจ้าลาวเม็งได้ทรงเสด็จสวรรคต พ่อขุนเม็งรายจึงได้ขึ้นครองเมืองหิรัญนครเงินยาง พระองค์ทรงใช้เวลาตลอดรัชกาลในการรวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่มาไว้ที่ศูนย์กลาง เดียวกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งแก่อาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ.๑๘๐๕ ขณะยกทัพไปถึงเมืองลาวกู่เต้า เผอิญช้างทรงของพระองค์ซึ่งทอดไว้ที่ป่าหัวดอยทางทิศตะวันออกพลัดหลงไป จึงได้เสด็จตามช้างไปถึงบนยอดดอยจอมทอง ริมแม่น้ำกกแลเห็นภูมิประเทศอันเป็นชัยภูมิที่ดีจึงทรงให้สร้างพระนครไว้ ณ ที่นั้น และได้ก่อปราการโอบล้อมเอาดอยจอมทองไว้ และทรงขนานนามว่า "เมืองเชียงราย” แล้วให้ย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญนครเงินยางมาตั้งอยู่ที่เชียงรายนับแต่นั้นมา พ่อขุนเม็งรายเสด็จประพาสกลางเมืองเชียงใหม่

                 โดยถูกอสุนีบาตตกต้องพระองค์เมื่อปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมพระชนม์มายุได้ ๘๐ พรรษา ต่อมาพระยาไชยสงคราม พระราชโอรสของพ่อขุนเม็งราย ได้ครองเมืองเชียงรายทรงนำอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมาประดิษฐานไว้ในกู่บนวัดดอยงำเมืองในปัจจุบัน

แสดงความคิดเห็น
เทศกาล ประเพณีท้องถิ่นอื่นๆ