การส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต

หน่วยงานภายใน

SP
CHNG
SSA
LK
KK
YS
SK
PNG
KJ
SS
123
PN

งานบริการประชาชน

 
dumrong01

ประกาศรับสมัคร/โอนย้าย

ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์

แนะนำเว็บไซต์

 
 
 

ศูนย์การเรียนรู้ อบจ.เชียงราย (Discovery Center)

 

 ประวัติการก่อตั้ง

             ในสถานการณ์ปัจจุบัน การเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆที่หลากหลาย  โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็น  เพราะมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและเป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับสูงของ เด็ก และเยาวชน แต่สถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย  ยังขาดความพร้อมด้านบุคลากรและแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยสำหรับการศึกษาหา ความรู้ที่เน้นประสบการณ์ตรง  องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย  จึงได้มีนโยบายจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ (Discovery Center) เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้และศูนย์กลางของการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก  เยาวชน  ให้ครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ตลอดจนประชาชนทั่วไป  ให้สามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ  โดยเนื้อหาที่จัดไว้ในศูนย์การเรียนรู้มีความเหมาะสมกับวัย และความสนใจของผู้เข้าศึกษา  ประกอบด้วยอาคารโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ห้องสมุด  ห้องภาพยนต์สามมิติ  โลกของเด็ก  โซนแห่งการเรียนรู้ด้วย IT ฯลฯ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

 1. เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ทางด้านวิชาการทั่วไป  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเด็ก เยาวชน และประชาชนในจังหวัดเชียงราย

 2. เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า บริการความรู้ข้อมูลในด้านวิชาการและความรู้ทั่วไปที่หลากหลาย

 3. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชน  และประชาชนที่ครอบคลุมทุกด้าน

 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนผลงาน  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชน และประชาชน จังหวัดเชียงราย


ศูนย์การเรียนรู้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (Discovery Center)     

           ได้จัดแบ่งโซนการให้บริการออกเป็นสามส่วน คือ อาคารคลังสมอง อาคารโลกวิทยาศาสตร์ และอาคารท้องฟ้าจำลองการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ และภัยธรรมชาติ ประกอบด้วยโซนกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

อาคารคลังสมอง

โซนประชาสัมพันธ์และจุดนัดพบ (Public Area & Meeting Point)

          ส่วนแรกสำหรับผู้ใช้บริการที่สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ของทางศูนย์ได้ รวมทั้งเป็นมุมพักผ่อนสบาย ๆ ที่ผู้ใช้บริการสามารถพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย

 


โซน 
Kid Station

         มุมการให้บริการสำหรับน้องๆ หนูๆ ที่เพรียบพร้อมไปด้วยหนังสือนิทานอันหลากหลาย และของเล่นนานาชนิด ที่ช่วยในการฝึกฝนและพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ได้ อาทิเช่น มุมหนังสือนิทานที่เด็กๆสามารถเพลิดเพลินไปกับโลกแห่งจินตนาการ อีกทั้งมุมของเล่นเสริมสร้างพัฒนาการที่เด็กๆจะได้รับความสนุกสนานกับเหล่า ของเล่นอันมากมาย

 


โซน 
Music Station

       มุมพักผ่อนสบายๆ ที่สามารถผ่อนคลายอารมณ์ไปกับความเพลิดเพลินผ่านทางเสียงเพลง หรือ แม้กระทั่งการรับชมภาพยนตร์ ผ่านทางเครื่องเล่นมัลติมีเดีย (iPod) ที่มีไว้บริการสำหรับผู้เข้ามาใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

 

โซน Movie Station

        ผู้ใช้บริการสามารถเข้ารับชมความบันเทิงอันหลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งสาระความรู้ได้ภายในห้องชมภาพยนตร์ห้องนี้ ซึ่งจะได้พบกับภาพยนตร์คุณภาพอันหลากหลายเรื่องราว ที่ถูกคัดสรรค์ไว้เพื่อผู้เข้าชมทุกเพศทุกวัยโดยห้องภาพยนตร์ถูกจัดไว้เพื่อ รองรับผู้ใช้บริการ โดยการออกแบบที่ทันสมัยและสวยงาม

 


โซนเรียนรู้ด้วยไอที 
IT Station

        ความก้าวไกลของสื่อสารสนเทศ หรือ ไอที (IT) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในด้านการศึกษาค้นคว้า การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นในปัจจุบันนี้ ดังนั้นศูนย์ฯ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเพื่อการให้บริการด้านอินเตอร์เน็ต (Internet) ไว้ให้บริการ รวมทั้งหนังสือการใช้โปรแกรมต่างๆ อีกมากมาย อีกทั้งห้องปฏิบัติการการอบรมผ่านทางไอบอร์ด (I-Board) ที่สามารถให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

 


โซนแห่งการเรียนรู้ 
Learning & Active Zone

        การอ่านหนังสือนับเป็นรากฐานความรู้ที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มความรู้แล้วยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้กับผู้อ่าน ซึ่งภายในห้องสมุดแห่งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้จากหนังสือที่หลากหลาย อีกทั้งบริการสืบค้นด้วยระบบอินเตอร์เน็ตที่สะดวกต่อผู้ใช้บริการในการค้นหา

 


โซน 
Animation Multimedia & Science Shoe (3D)

        ภายในโซนนี้ผู้ใช้บริการสามารถรับชมภาพยนตร์เสมือนจริงได้ (3D) อีกทั้งการจัดแสดงภาพยนตร์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสารคดี อันหลากหลาย เพื่อรองรับผู้ใช้บริการกว่า 40 ที่นั่ง ที่มีไว้เพื่อรองรับการใช้บริการของผู้เข้าชมที่จะได้รับทั้งสาระและความ บันเทิงเสมือนโรงภาพยนตร์ชั้นนำ

 

  อาคารโลกวิทยาศาสตร์

 

โซนที่ 1 ท่องโลกของเรา

           มหัศจรรย์การไขปริศนาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การค้นพบ และการเรียนรู้สภาวะการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ของเรา ภายในโซนนี้เราจะได้พบกับแบบจำลองต่าง ๆ อาทิเช่น แบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหว แบบจำลองการก่อตัวของพายุหมุน แบะจำลองสภาวะการละลายของภูเขาน้ำแข็ง และแบบจำลองอีกมากมายที่จัดแสดงไว้ให้บริการสำหรับผู้เข้าชมในการเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้า

 

โซนที่ 2 ไขปริศนาการเรียนรู้

        สนุกและเพลิดเพลินไปกับจินตนาการและการค้นพบด้วยเหตุและผล ที่ทำให้โลกทัศน์ของการเรียนรู้และการแสวงหาคำตอบอย่างมีหลักการและเหตุผล กับเหล่าของเล่นปริศนาอันน่าพิศวงที่จะถูกค้นพบคำตอบและเปิดเผยด้วยตัวเรา เอง

 

โซนที่ 3 โลกของพลังงาน

          พลังงาน เป็นปริมาณพื้นฐานอย่างหนึ่ง ของกระบวนการในระบบกายภาพทุกอย่าง พลังงานในระบบเหล่านี้ที่สภาวะหนึ่งนิยามกันว่าเท่ากับ "งาน" ที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะแรกเริ่มไปยังสภาวะนั้น ๆ ตัวอย่างของพลังงานได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานเคมี เป็นต้น ภายในโซนนี้เราจะได้พบกับสภาวะการเกิดขึ้นของพลังงานในรูปแบต่าง ๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอร์กราฟ ซึ่งเป็นเครื่องกลผลิตไฟฟ้าศักย์สูง เครื่องนี้สามารถสร้างประจุไฟฟ้าจากการเสียดสี โดยประจุไฟฟ้าจะกระจายออกมาสู่ผิวนอกทรงกลม

 

  โซนที่ 4 พลังงานทดแทน

            พลังงานทดแทนแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ พลังงานสิ้นเปลือง และพลังงานหมุนเวียนหรือที่เรียกกันว่า "พลังงานทดแทน" ในการศึกษาวิจัยพลังงานทดแทนถือเป็นการค้นคว้าพัฒนาตลอดจนการส่งเสริม และเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดและไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล เป็นต้น ทั้งนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าให้ได้มาซึ่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ภายในโซนพลังงานทดแทนนี้เราจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งที่มาของพลังงานสะอาดต่างๆ

 

  โซนที่ 5 เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์

               วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ การคิดค้นและผสมผสานทางองค์ความรู้ ซึ่งผนวกกับกระบวนการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ควบคู่ไป พร้อมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอันก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ที่ทัน สมัยและหลากหลายในโลกของเทคโนโลยี

 อาคารท้องฟ้าจำลองการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ และภัยธรรมชาติ

 

แนวคิด

        ปัจจุบัน การเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ และภัยธรรมชาติ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จึงได้มีนโยบายจัดตั้งอาคารท้องฟ้าจำลองการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ และภัยธรรมชาติขึ้น ภายในศูนย์การเรียนรู้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (Discovery Center) เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และค้นคว้าข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย ให้สามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ และช่วยสนับสนุนในการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ทางด้านดาราศาสตร์ ของเด็ก เยาวชน ประชาชนในจังหวัดเชียงราย

2.เพื่อแหล่งศึกษา ค้นคว้า บริการความรู้ ข้อมูลพื้นฐานในด้านดาราศาสตร์

3.เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพ ของเด็ก   เยาวชน และประชาชนทั่วไป

 

 ฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กลางแจ้ง

 



ชุดไฮเปอร์โบลา

            เกิด ขึ้นจาการตัดกรวยกลมตรงด้วยระนาบที่ขนานกับแกนของกรวยและตัดทั้งสองกรวย แท่งโลหะที่เป็นเส้นตรงสามารถเคลื่อนผ่านช่องที่เจาะไว้เป็นรูปไฮเปอร์โบลา ได้เนื่องจากแท่งโลหะและช่องที่เจาะไว้ สัมพันธ์กันด้วยสมการทางคณิตศาสตร์โดยที่แทนค่า X และ Y  ใน สมการเส้นตรงลงในสมการไฮเปอร์โบลา (ที่เตรียมไว้) จะได้ค่าออกมาอยู่ตำแหน่งเดียวกันพอดี ทำให้แท่งโลหะสามารถลอดผ่านช่องรูปไฮเปอร์โบลา

 

ชุดแสดงการเดินวัดส่วนสูง

              การวัดส่วนสูง ใช้หลักการสะท้อนของแสง เมื่อเรามองเห็นแถบสีในกระจกการสะท้อนแสงจากแถบสีจะสะท้อนเข้าสู่ตา ทั้งนี้ความสูงที่ได้จะเป็นความสูงจากพื้นถึงตาผู้มองจะต้องบวกกับระยะจากตา ถึงศรีษะของผู้ยืนด้วยจึงจะเป็นความสูงของผู้วัด

 



การเปลี่ยนพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์ของลูกโลหะ

            เมื่อ ลูกกลมโลหะเคลื่อนที่ขึ้นไปเรื่อยๆ จะมีพลังงานชนิดหนึ่งสะสมเพิ่มขึ้นตามเรียกว่าพลังงานศักย์ พลังงานศักย์จะมีค่ามากที่สุดเมื่อลูกกลมโลหะอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุด เมื่อลูกกลมโลหะเริ่มเคลื่อนที่ตกลงมาพลังงานศักย์จะลดลง ค่าที่ลดลงจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์ที่เพิ่มขึ้นทุกๆตำแหน่งของการเคลื่อน ที่โดยพลังงานจลน์มีค่ามากที่สุดเมื่อลูกกลมโลหะเคลื่อนที่ลงมาอยู่ใน ตำแหน่งล่างสุด



ชุดแสดงความสัมพันธ์ของแขนและขา

            เป็น อุปกรณ์สำหรับเสริมและฝึกทักษะในการเคลื่อนไหวมือและขาให้สัมพันธ์กัน เพื่อฝึกสมรรถภาพทางกายทั่วไป และฝึกสมองให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไปด้วยกัน

 


 ชุดแสดงการเดินทางของเสียงในท่อ

              เสียงอยู่ ในรูปของคลื่นเรียกว่าคลื่นเสียง คลื่นเสียงเกิดจาการสั่นของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดผ่านตัวกลางโดยการถ่าย โอนพลังงานของการสั่นให้อนุภาคของตัวกลางต่อๆกันไป

 

 

ชุดแสดงการถ่ายโอนพลังงานของวัตถุที่มีความถี่ธรรมชาติเดียวกัน          

          วัตถุ ต่างๆเมื่อถูกทำสั่นหรือแกว่งแล้วปล่อยให้สั่นหรือแกว่งต่อไปอย่างอิสระมัน จะสั่นหรือแกว่งด้วยความถี่ค่าหนึ่ง ความถี่ในการแกว่งหรือสั่นย่างอิสระนี้เรียกว่า ความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency) ของ วัตถุนั้นๆ วัตถุต่างๆจะมีความถี่ธรรมชาติเฉพาะตัวทั้งสิ้น ความถี่ธรรมชาติระบบหนึ่งอาจมีเพียงค่าเดียวหรืออาจมีได้หลายๆค่าทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ และลักษณะการสั่น

             ในที่นี้ก็คือเมื่อทำให้ชิงช้าตัวใดตัวหนึ่งแกว่งด้วยความถี่การแกว่งค่า หนึ่งจะทำให้เกิดพลังงานที่ได้จากการแกว่งขึ้น โดยพลังงานนี้จะถูกถ่ายโอนไปยังคานที่ชิงช้ายึดติดอยู่ทำให้คานเกิดการสั่น ด้วยความถี่เดียวกันกับชิงช้าตัวที่แกว่ง เมื่อคานเกิดการสั่นก็จะถ่ายโอนพลังงานไปยังชิงช้าอีกตัวหนึ่งให้สั่นตาม ด้วยความถี่เดียวกัน

 

 

นาฬิกาแดดแบบอีควอเทอเรียล

              นาฬิการแดดแบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญคือ แถบบอกเวลา(Dial Plate) เป็นรูปครึ่งวงกลมแบ่งช่องบอกเวลาขนาดเท่าๆกันและแกนสร้างเงา(Gnomon) อยู่ที่ตำแหน่งจุดศูนย์กลางและตั้งฉากกับแถบบอกเวลา นาฬิกาแดดแบบนี้ต้องติดตั้งให้แถบบอกเวลาอยู่ในแนวตะวันออกและตะวันตกปลาย ของแกนสร้างเงาชี้ไปที่ขั้วฟ้าเหนือ กล่าวคือ ให้แกนสร้างเงาขนาบกับแกนหมุนของโลก

 

 

ลูกโลกหน้านักวิทยาศาสตร์

               การ ที่มองเห็นเป็นรูปใบหน้าของผู้ชายทั้งๆที่ส่วนที่วาดขึ้นมาเป็นเพียงส่วนที่ เป็นเงาและเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ในรูปเลย ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเหตุมาจากการที่สมองประมวลผลโดยพยายามคาดเดาส่วนที่ ขาดหายไปบางส่วน โดยใช้ประสบการณ์ที่เคบพบเห็นมาเช่นเดียวกับสิ่งแสดงลูกโลกที่มีทวีปต่างๆ เมื่อยืนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดให้ก็มองเห็นเป็นรูปนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง

 

 

จานกระซิบ

            ประกอบด้วยจานโค้งรูปพาราโบลาขนาดใหญ่ 2 อันวางหันด้านหน้าเข้าหากันโดยมีระยะห่างกันจนไม่สามารถพูดกันได้ยิน เมื่อเราพูด คลื่นเสียงจะเดินทางจากจุดโฟกัสและสะท้อนผิวของจาน แล้วสะท้อนออกไปยังพื้นผิวของจานอีกใบที่อยู่ด้านตรงข้าม หลังจากนั้นจึงสะท้อนไปยังจุดโฟกัส ทำให้ผูที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งได้ยินเสียงพูดอย่างชัดเจน

 

 

ทรงกลมท้องฟ้า

                   คน สมัยโบราณเชื่อว่าดวงดาวทั้งหมดบนท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางเท่าๆกัน โดยดวงดาวเหล่านั้นถูกตรึงอยู่บนผิวของทรงขนาดใหญ่เรียกว่า ทรงกลมท้องฟ้า (Celestial Sphere) โดยมีโลกอยู่ที่ศูนย์กลางของทรงกลม ทรงกลมท้องฟ้าหมุนรอบโลกจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก โดยที่โลกหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว

 

            นักปราชญ์ในยุคต่อมาทำการศึกษาดาราศาสตร์กันมากขึ้นจึงพบว่า ดวงดาวบนท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางที่แตกต่างกันกลางวันและกลางคืน เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก มิใช่การหมุนของทรงกลมท้องฟ้าดังที่เคยเชื่อกันในอดีต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ยังคงใช้ทรงกลมท้องฟ้าเป็นเครื่องมือใน การระบุตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ทั้งนี้เป็นเพราะหากเราจินตนาการให้โลกเป็นศูนย์กลางโดยมีทรงกลมท้องฟ้า เคลื่อนที่หมุนรอบ จะทำให้ง่ายต่อการระบุพิกัด หรือเปรียบเทียบตำแหน่งของวัตถุบนื้องฟ้าและสังเกตุการเคลื่อนที่ของวัตถุ เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น


ชุดแสดงการเดินชั่งน้ำหนัก

            เครื่องชั่งน้ำหนักชนิดนี้ใช้หลักการของคานและโมเม้นต์ เมื่อขึ้นไปยืนแล้วแท่งไม้สมดุลจะเป็นไปตามหลักการของคานและโมเม้นต์ คือ โมเม้นต์ทวน=โมเม้นต์ตาม

 

 

ชุดรอกแบบต่างๆ

            รอก (Pulley) เป็นเครื่องกลที่ใช้สำหรับยกของขึ้นที่สูง หรือหย่อนลงต่ำมีลักษณะเป็นล้อหมุนคล่องรอบตัวและมีเชือกพาดล้อสำหรับยกวัตถุ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ รอกเดียว และรอกพวง

 

 

ชุดคานและโมเมนต์

             โมเมนท์และคาน คือ ระยะทางจากวัตถุถึงจุกหมุนคูณด้วยน้ำหนักของวัตถุ มีหน่วยเป็นนิวตันเมตร (N*M) โดยโมเมนต์ของคานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1.      โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

  2.      โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา



ชุดแสดงการลอยตัวของวัตถุด้วยแรงดันน้ำ

            หินกลิ้ง มีลักษณะเป็นก้อนหินรูปทรงกลมวางอยู่บนฐานรองหินลักษณะเว้าคล้ายอ่าง มีน้ำพุ่งขึ้น มาตามท่อที่อยู่ใต้ฐานรองหิน การที่ลูกหินสามารถลอยอยู่ในน้ำได้เนื่องจากแรงดันของน้ำที่พุ่งออกจากท่อมี ค่าเท่ากับน้ำหนักของลูกหินจากทฤษฎีของปาสคาลที่ว่า “ความดันที่ให้กับของเหลวหรือก๊าซที่อยู่นิ่งจะถูกแพร่ออกไปเท่ากันทุกทิศทาง”

  

 

 

ชุดแสดงการสะท้อนของเสียงที่จุดโฟกัสด้วยจานพาราโบรา

            (Parabola) เป็นภาคตัดกรวยที่เกิดจากการตัดกันระหว่างพื้นผิวกรวยด้วยระนาบที่ขนานกับเส้นกำเนิดกรวย (Generating Line) ของพื้นผิวนั้น พาราโบลาสามารถกำหนดด้วยจุดต่างๆที่มีระยะห่างจากจุดกำหนด คือ เส้นไดเรกตริกซ์ (Directix)

            ดังนั้นจานพาราโบลา จึงสามารถรับเสียงที่อยู่ในระยะไกลๆได้เพราะเสียงที่อยู่ในระยะไกลๆนั้น เสมือนหนึ่งว่าเป็นรังสีขนานที่เดินทางมากระทบกับผิวจานพาราโบลา เสียงดังกล่าวจึงรวมกันอยู่ที่จุดโฟกัสทำให้เราได้ยินเสียงที่อยู่ในระยะไกล ได้

          ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 053-751148 
                                 อีเมลล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


                             

nayokNew   

นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

ผลการปฏิบัติงานนายก2
ITALogo1
salary
m5
QA
livechart

b1

Commu
ศูนย์เยาวชน65
หน้าเว็บ PDPA

สถิติผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday518
mod_vvisit_counterYesterday3524
mod_vvisit_counterThis week11818
mod_vvisit_counterLast week27496
mod_vvisit_counterThis month39314
mod_vvisit_counterLast month90086
mod_vvisit_counterAll days6387915

Online Now: 68
Your IP: 3.238.227.73
,
Today: September 12, 2024